หัวนมแตก ทำอย่างไร?
ปัญหาหัวนมแตก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด เมื่อหัวนมแตก คุณแม่จะรู้สึกเจ็บบริเวณหัวนม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้ลูกเข้าเต้า
หัวนมแตกเกิดจากอะไร
- ท่าเข้าเต้าที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เวลาเข้าเต้าลูกงับไม่ถึงลานนม ลูกจึงไม่ได้รับน้ำนมเท่าที่ควร ลูกจึงอาจใช้เหงือกเคี้ยวหัวนมเล่นแทน
- การปั๊มนมที่ไม่ถูกวิธี อาทิ ปั๊มนมแรงเกินไป ปั๊มนมถี่เกินไป กรวยปั๊มขนาดไม่เหมาะสม เป็นต้น
- ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น เวลาเข้าเต้าจึงไม่สามารถงับได้ถึงลานนมส่งผลให้การเคลื่อนไหวของลิ้นถูกจำกัดด้วยเนื้อเยื่อที่เชื่อมระหว่างลิ้นและพื้นล่างของปาก
หัวนมแตก รักษาอย่างไร
- ปรับท่าให้นม ให้ลูกสามารถงับได้ถึงลานนม ทั้งนี้เวลาลูกดูดนม จมูก แก้ม และคางของลูกควรสัมผัสกับเต้านมส่วนล่าง เพื่อให้ลูกสามารถดูดนมได้ดีขึ้นและลดความเจ็บปวดลงได้
- ลดความถี่ในการทำความสะดาดหัวนมก่อนให้ลูกดูดนม เพราะการล้างด้วยน้ำเปล่าบ่อยครั้ง จะทำให้ผิวบริเวณหัวนมและลานนมแห้ง ส่งผลให้หัวนมแตกง่ายเมื่อลูกดูด
- หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม และไม่ควรใช้เช็ดหรือถูบริเวณหัวนมบ่อยครั้งเพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
- หากมีอาการคัดตึงเต้าบริเวณลานนมและเต้านม ให้นำผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบ และนวดลานนมและเต้านมเบาๆ เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมาเล็กน้อยก่อนที่จะให้ลูกเข้าเต้า เนื่องจากหากคุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าขณะที่ลานนมตึง ลูกจะต้องดูดแรงขึ้น ส่งผลให้หัวนมแตกได้
- บีบน้ำนม 2- 3 หยดทาบริเวณหัวนมทิ้งไว้ให้แห้งทุกครั้งหลังให้นมลูก เนื่องจากน้ำนมแม่มีสารที่ช่วยลดการอักเสบ และช่วยในการสมานแผลได้ดี
- หากมีแผลเปิดบริเวณหัวนมควรงดให้นมลูกชั่วคราว และให้ใช้ยาทาชนิดป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทาหลังจากล้างทำความสะอาด จะช่วยให้แผลเปิดหายได้เร็วขึ้น
กรณีที่คุณแม่ต้องให้นมขณะที่หัวนมแตกอยู่นั้น ก่อนให้น้องเข้าเต้าให้ประคบเย็นบริเวณลานนมและหัวนมก่อนประมาณ5-10นาที จะช่วยให้อาการเจ็บเวลาให้นมลูกลดลงค่ะ และหลังจากให้นมลูกเสร็จแล้วควรใช้น้ำนม หรือครีมสำหรับหัวนมแตกทาที่บริเวณหัวนมทันทีหลังทำ
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ ให้บริการดูแลทุกปัญหาน้ำนมแม่ ทั้งที่บ้าน และ ที่คลินิก อาทิ นวดเปิดท่อน้ำนม กระตุ้นน้ำนม ในคุณแม่แรกคลอด คุณแม่ที่น้ำนมน้อย รักษาท่อน้ำนมอุดตัน เคลียร์เต้า
โทร 021060077