รู้ไว้ รักษาทัน โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา
สัญญาณเตือนภัย หลอดเลือดสมอง ( BE-FAST)
- สูญเสียการทรงตัว (Balance)
- ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด (Eyes)
- ใบหน้า และ ปากเบี้ยวเฉียบพลัน (Face)
- แขนขาอ่อนแรง (Arms) ชาครึ่งซีก
- พูดติดขัด ออกเสียงลำบาก (Speech)
- อาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน (Time) เน้นความสําคัญของเวลา รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- สูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- อายุ – ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูงกว่า
- เพศ- เพศชายจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าเพศหญิง
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
การตรวจคัดกรองจะทำให้รู้ทันโรค ทราบถึงความเสี่ยง เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันท่วงที
1. การซักประวัติและตรวจร่างกาย
2. การตรวจสุขภาพด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เจาะเลือด ตรวจแล็ป (Lab Test) เนื่องโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งโรคอ้วน นับเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการเจาะเลือด เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะสามารถช่วยให้ทราบถึงแนวโน้มความเสี่ยงของโรคดังกล่าว ช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอการที่จะเกิดหลอดเลือดสมองได้ ทั้งนี้รายการตรวจที่แนะนำ ได้แก่
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด CBC
- ตรวจการทำงานของตับ SGPT
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS
- ตรวจปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1,C
- ตรวจการทำงานของไต Creatinine
- ตรวจระดับไขมัน Lipid profile
3. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan) เพื่อดูว่าสมองมีลักษณะของการขาดเลือดหรือเกิด เลือดออกในสมองหรือไม่
การรักษาทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ช่วง 3-6 เดือนหลังจากที่มีอาการ นับเป็นระยะที่สามารถฟื้นฟูร่างกายได้มีประสิทธิภาพสุด โดยใน 3 เดือนแรกร่างกายจะฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว ดังนั้นหากเริ่มทำกายภาพเร็ว ก็จะสามารถฟื้นฟูร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งนี้การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จะเน้น
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแต่ละมัดที่ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรง
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการยึดติดของข้อต่อส่วนต่าง ๆในร่างกาย
- ฝึกกิจวัตรประจำวัน อาทิ การเคลื่อนไหวตัวบนเตียง ฝึกการลุกขึ้นนั่งในท่าทางที่ถูกต้อง ฝึกการทรงตัวในท่านั่ง ฝึกการทรงตัวในท่ายืน และฝึกการเดินที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
บริการเจาะเลือดตรวจแลปสุขภาพ ถึงบ้าน
บริการกายภาพบำบัดถึงบ้าน
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ บริการกายภาพบำบัดถึงบ้าน เจาะเลือด ตรวจแล็ปสุขภาพ และอื่นๆ
📞 021060077
Line ID: @PHHC