การมาของประจำเดือนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน 2 ชนิดคือ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้มีความสัมพันธ์กับการตกไข่ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นร่างกายจะไม่มีการตกไข่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายเพื่อรองรับการตั้งครรภ์ให้เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน แต่เมื่อคุณแม่คลอดแล้ว อิทธิพลของฮอร์โมนต่าง ๆ จะยังคงอยู่ไปอีกสักระยะหนึ่ง ทำให้ยังไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนจึงยังไม่มา
สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกทานนมแม่อย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเรียกว่า “โปรแล็กติน” (Prolactin) ทำให้ไข่ไม่ตก จึงยังคงไม่มีประจำเดือน แต่หากคุณแม่ทิ้งระยะห่างในการให้นมมากขึ้น ให้ลูกดูดนมน้อยลง ระดับฮอร์โมนโปรแลกตินก็จะลดลง ทำให้ประจำเดือนกลับมาตามปกติ
เมื่อไหร่ประจำเดือนจึงจะกลับมา?
หากไม่ได้มีการให้นมแม่ ประจำเดือนมักจะกลับมาภายใน 6-8 สัปดาห์ สำหรับคุณแม่ที่ให้นมแม่เป็นหลัก ขยันปั๊มนม หรือให้น้องดูดเต้าอย่างสม่ำเสมอ ประจำเดือนจะกลับมาช้า กว่าคุณแม่ที่ให้นมแม่ ผสมนมผง
จากสถิติพบว่า
· คุณแม่จำนวน 60% จะเริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 7 หลังคลอด
· คุณแม่จำนวน 20% จะเริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 2-4 หลังคลอด
ประจำเดือนมาแล้วส่งผลต่อน้ำนมหรือไม่? การกลับมาของประจำเดือนอาจส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลงเล็กน้อย เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศจะกดการผลิตน้ำนม แต่สามารถแก้ไขได้ ด้วยการหมั่นกระตุ้นน้ำนมเป็นประจำ
ประจำเดือนมาแล้ว ยังให้นมลูกได้หรือไม่?
หลังประจำเดือนมายังสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เพราะการมีประจำเดือนไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณค่าของน้ำนม อย่างไรก็ตามรสชาดของน้ำนมอาจเปลี่ยนไปบ้าง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ รักษาทุกปัญหาน้ำนมแม่ ทั้งที่บ้าน ที่คลินิก อาทิ นวดเปิดท่อน้ำนม รักษาท่อน้ำนมอุดตัน แนะนำการเคลียร์เต้า สะกิดไวท์ ดอท เป็นต้น
โทร 022207977