นมแม่ หรือ นมผสมนับเป็นอาหารหลักสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งในนมเหล่านั้นจะมีน้ำเป็นส่วนผสมมากกว่า 80% ในนมมีสารอาหารอย่างครบถ้วน มีคุณค่าและพลังงานที่เหมาะสม รวมถึงมีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเด็กทารกแล้ว
หากทารกต่ำกว่า 6 เดือนทานน้ำจะเกิดผลเสียอย่างไร?!
- อาจทำให้ทารกขาดสารอาหารที่จำเป็นได้ เนื่องจากการป้อนน้ำให้ลูกในปริมาณมาก จะทำให้ลูกดื่มนมได้น้อยลง ส่งผลให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นน้อยลง จนอาจขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้ หากลูกดูดนมน้อยลงยังเป็นสาเหตุให้ปริมาณน้ำนมคุณแม่ลดลงได้ด้วย
- หากให้ลูกดื่มน้ำ และน้ำหรือภาชนะบรรจุมีความสะอาดไม่เพียงพอ จะทำให้ลูกท้องเสีย หรือมีโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหารได้
- ภาวะน้ำเป็นพิษ ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน การป้อนน้ำให้ลูกมากเกินไปจะทำให้ไตของเด็กซึ่งยังทำงานไม่เต็มที่ ไม่สามารถกรองของเหลวได้อย่างรวดเร็ว เกิดภาวะโซเดียมต่ำจากการเจือจางความเข้มข้นของโซเดียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญของร่างกายที่ช่วยรักษาสมดุลน้ำ หากลูกน้อยได้รับน้ำมากเกินกว่าร่างกายจะปรับสมดุลได้ อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อสมอง เกิดสมองบวม ชัก หรือเสียชีวิตได้
ทั้งนี้การดื่มน้ำปริมาณมาก อาจจะทำให้ลูกท้องอืด ท้องแข็ง และท้องเสียได้ หากพบสิ่งผิดปกติหลังให้ลูกดื่มน้ำ ควรรีบพบแพทย์ทันที
ดังนั้น ไม่ควรให้เด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ดื่มน้ำเพราะเด็กวัยนี้ได้รับ “น้ำ” จากนมก็เพียงพอแล้ว
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์
ให้บริการดูแลทุกปัญหาน้ำนมแม่ ทั้งที่บ้าน และ ที่คลินิก อาทิ นวดเปิดท่อน้ำนม กระตุ้นน้ำนม ในคุณแม่แรกคลอด คุณแม่ที่น้ำนมน้อย รักษาท่อน้ำนมอุดตัน เคลียร์เต้า
โทร 021147399