การOverfeeding ในทารก หมายถึงการที่ทารกดื่มนมเยอะจนเกินไป จนระบบย่อยอาหารไม่สามารถย่อยน้ำนมที่ดื่มเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักเกิดกับทารกที่ดื่มนมจากขวด ได้ง่ายกว่าทารกที่ดื่มนมจากเต้าแม่ และมักเกิดกับทารกที่ดื่มนมผสมมากกว่านมแม่
ทราบได้อย่างไรว่าลูก Overfeed
1. ทารกแหวะนมทั้งทางปากและจมูกมากกว่าปกติ และอาจมีถ่ายเหลวร่วมด้วย
2. ทารกร้องไห้งอแง เนื่องจากไม่สบายตัว ท้องอืด
3. ทารกบิดตัวเยอะ ร่วมกับร้องเหมือนแกะจากอาการปวดแน่นท้อง
4. ทารกพุงกางเหมือนน้ำเต้าตลอดเวลา
5. ทารกหายใจมีเสียงครืดคราดเหมือนหมี เนื่องจากน้ำนมล้นขึ้นมาถึงคอ
6. ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินกว่า1000กรัมต่อเดือน ในช่วง3เดือนแรก
น้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของทารก
- 0-3 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้น 600-900 กรัม/เดือน
- 4-6 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้น 450-600 กรัม/เดือน
- 7-12 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้น 300 กรัม/เดือน
วิธีป้องกันการ Overfeed
- หยุดให้นมทันทีเมื่อทารกแสดงสัญญาณว่าอิ่ม เช่น เบือนหน้าหนี ปัดปวดนม ดูดนมช้าลง เว้นช่วงดูดนาน หรือมีท่าทีไม่พอใจ
- ให้ทารกเข้าเต้าแทนการดูดขวด เนื่องจากหากทารกเข้าเต้า เมื่อทารกรู้สึกอิ่ม ทารกจะปล่อยหัวนมออกไปเอง
- ให้ลูกทานนมในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยแล้วทารกที่ดื่มนมแม่ มักต้องการดื่มนมทุก 2-3 ชั่วโมง ส่วนทารกที่ดื่มนมจากขวด มักดื่มนมปริมาณ 2-3 ออนซ์ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
- ประเมินจากการขับถ่ายของทารก หากทารกอึวันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 แกนกระดาษทิชชู่ และฉี่ครบ 6 ครั้งใน 24 ชั่วโมง แสดงว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอแล้ว
- เบี่ยงเบนความสนใจของทารก หากสังเกตว่าทารกเพิ่งดื่มนมไปแต่ยังมีทีท่าขอดูดตลอดเวลา
- หากทารกยังต้องการเข้าเต้าให้ได้ ให้คุณแม่ปั๊มนมอกก่อน เพื่อน้ำนมในเต้าเหลือน้อยที่สุด
การ overfeed อันตราย หรือไม่
การ overfeed ไม่ได้อันตราย เพียงแต่จะส่งผลให้ทารกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และนำไปสู่ภาวะโรคอ้วนได้
หากทารกมีอาการ overfeed บ่อยๆ นอกจากจะทำให้ทารกอึดอัดไม่สบายท้องแล้ว การปล่อยให้ทารกแหวะบ่อยๆจะทำให้มีกรดจากกะเพราะอาหารย้อนออกมายังหลอดอาหาร อาจทำให้หลอดอาหารและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆเป็นแผลได้
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์
ให้บริการดูแลทุกปัญหาน้ำนมแม่ ทั้งที่บ้าน และ ที่คลินิก อาทิ นวดเปิดท่อน้ำนม กระตุ้นน้ำนม ในคุณแม่แรกคลอด คุณแม่ที่น้ำนมน้อย รักษาท่อน้ำนมอุดตัน เคลียร์เต้า
โทร 021147399