บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ (Foley) และ สายให้อาหาร (NG Tube) ถึงบ้าน
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ มีบริการ เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ(Foley) และสายให้อาหาร (NG Tube) ถึงบ้าน โดยทีมพยาบาลวิชสชีพ ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ
การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ
ในผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะ ควรระมัดระวังในการป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ และดูแลไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ควรดูแลให้สายสวนและถุงปัสสาวะ อยู่ในระบบปิดตลอดเวลา ระวังอย่าให้สายมีรอยแตก และการรั่วซึม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
- ถุงปัสสาวะควรอยู่ระดับต่ำกว่า ระดับเอว และถุงห้ามสัมผัสกับพื้น รวมถึงเมื่อมีการถ่ายปัสสาวะออกจากถุงระวังอย่าให้ปลายท่อสัมผัสกับปากขวดหรือภาชนะที่รองรับปัสสาวะเด็ดขาด
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ หากมีข้อจำกัดให้ตะแคงตัวแทน ระวังอย่าให้สายปัสสาวะหัก พับงอซึ่งอาจจะเกิดจากการนอนทับ
- แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนดื่มน้ำวันหละ 2,500-3,000 ซีซี (ในกรณีที่ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องการดื่มน้ำ)
- หากตะกอนเกาะสายหรือถุงปัสสาวะ ควรเปลี่ยนสายและถุงใหม่
- กรณีปัสสาวะขุ่น หรือมีไข้ให้พบแพทย์
- การดูแลผู้ที่ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ควรทำความสะอาดอย่างเหมาะสม และถูกต้องต้อง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- ควรยึดตรึงสายสวนปัสสาวะเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวนปัสสาวะ
- เทน้ำปัสสาวะทิ้งเมื่อมีปริมาณราว 1,000 ซีซี หรือทุก ๆ 3 ชั่วโมง หรือเมื่อมีปริมาณ 3 ใน 4 ของถุง เพื่อให้น้ำปัสสาวะไหลได้สะดวกและไม่ไหลย้อนกลับ
ควรเปลียนสายสวนปัสสาวะทุก 2 สัปดาห์ – 1 เดือน ทั้งนี้การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทำโดยพยาบาลวิชาชีพ เนื่องจากต้องระมัดระวังการติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใส่สายสวนปัสสาวะ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน คือ อาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการบ่งชี้ว่าอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- มีไข้ หนาวสั่น
- ปวดแสบปวดร้อนบริเวณท่อปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีสีแดง มีเลือดปน มีหนอง ขุ่น เป็นตะกอน
- ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนผิดปกติ
การให้อาหารทางสายยาง
NG tube หรือ Nasogastric Tube หมายถึง การใส่ท่อสายยางผ่านระหว่างรูจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งมักใช้เป็นทางเลือกแรกเมื่อจำเป็นต้องให้อาหารในผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เองเพียงพอ และยังมีการทำงานของระบบทางเดินอาหารปกติ โดยมักให้ในระยะสั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์
การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหาร (NG Tube)
- ควรทำความสะอาดบริเวณจมูกด้วยสำลีชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกทุกวัน ทำความสะอาดปากและฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
- ควรเปลี่ยนตำแหน่งพลาสเตอร์เพื่อป้องกันแผลกดทับ และหมั่นสำรวจผิวหนังรอบๆ รูจมูกบ่อยๆ ว่ามีบาดแผลหรือไม่
- ควรปิดจุกสายยางให้แน่น และวางปลายสายไว้เหนือศีรษะของผู้ป่วย เพื่อป้องกันอาหารจากกระเพาะอาหารไหลย้อนออกมา หลังการให้อาหาร ควรเช็ดคราบอาหารที่ปลายจุกด้วยผ้าสะอาด ตรวจเช็กตำแหน่งของสายให้อยู่ตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ก่อนเริ่มให้อาหาร
- ควรดูพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกควรให้ติดแน่น ระวังสายเลื่อนหรือหลุดออก กรณีสายผิดตำแหน่ง หรือเลื่อนหลุด ควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์
- กรณีสายให้อาหารทั่วไปควรเปลี่ยนสายให้อาหารเป็นประจำทุก 2-4 สัปดาห์ กรณีใช้สายให้อาหารแบบซิลิโคน (NG Silicone Tube) ควรเปลี่ยนเป็นประจำทุก 3 เดือน
- กรณีสายเลื่อนมากกว่า 2 นิ้ว ให้งดอาหารไว้ และควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์
- หากดูดอาหารที่ค้างอยู่ แล้วพบว่ามีสีผิดปกติ เช่น สีแดงสด หรือน้ำตาลคล้ำหรือเป็นเลือดสด ควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์