
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรัง เกิดจากประสิทธิภาพการสร้างฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อนลดลง ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการบ่งชี้ของโรคเบาหวาน
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน เนื่องจากร่างกายจะดึงเอาน้ำตาลส่วนเกินออกมาพร้อมกับปัสสาวะ นอกจากนี้อาจมีมดขึ้นปัสสาวะด้วย
- คอแห้ง กระหายน้ำเนื่องจากกลไกปัสสาวะจะมีการดึงเอาน้ำ และน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายด้วย ทำให้ผู้ป่วยหิวน้ำบ่อยมากขึ้นได้
- แผลหายช้าเนื่องจากเส้นเลือดตีบ ส่งผลใหลือดม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ แผลจึงสมานได้ช้า แผลเบาหวานมักเกิดที่เท้า และมักมีการติดเชื้อร่วมด้วย
- สายตาพร่ามัว
- มีอาการคันตามส่วนต่างๆของร่างกายเนื่องจากเหงื่อที่ถูกผลิตออกมามีปริมาณของน้ำตาลที่ค่อนข้างสูง
- ชาปลายมือ ปลายเท้า
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- รับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ ในปริมาณที่พอเหมาะ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาล และ คาร์โบไฮเดรตปริมาณมาก เช่น ขนมหวาน แป้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนัก
- หมั่นตรวจน้ำตาล เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือด
- ดูแลทำความสะอาดเท้า ระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยให้เซลล์ของร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น ทำให้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกาย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเช่น แผลที่เท้า ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
- ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย
- ช่วยลดปริมาณยาที่ต้องรับประทาน รวมทั้งการฉีดอินซูลิน
ข้อควรระวัง
หากเคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือฉีดยาอินซูลิน ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดก่อน ระหว่างและหลังออกกำลังกาย
เสี่ยงเบาหวานหรือไม่ เลือกวิธีตรวจคัดกรองเบาหวานที่ตอบโจทย์
เพราะโรคเบาหวานในระยะแรกๆ หรือระยะก่อนเป็น มักไม่มีอาการแสดงให้เรารู้ตัว การตรวจคัดกรองเบาหวานจึงช่วยให้เราทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดใกล้สูงจนถึงจุดที่จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยง เพราะเราสามารถปรับพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคได้ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน หากเป็นในระยะแรกๆ การเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วก็จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการมาตรวจพบเมื่อเป็นมากแล้ว
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง BMI มากกว่า 25 kg/m2 หรือมีรอบเอวเกินมาตรฐาน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดตีบ
- คนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ไม่ออกกำลังกาย
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดเกิน 4 kg
- เป็นโรคกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
เนื่องจาก “โรคเบาหวาน” เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ วิธีการตรวจที่นิยมมากที่สุดจึงเป็นวิธีการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ (LAB) ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และให้ค่าที่แม่นยำ
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar (FBS) คือการวัดระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด ว่าร่างกายควบคุมน้ำตาลได้ดีหรือไม่ สามารถวินิจฉัยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานได้ อีกทั้งยังสามารถติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ใช้ประเมินผลในการรักษาโรคเบาหวานได้
การตรวจ Glycated Hemoglobin (HbA1c)เป็นการตรวจวัดระดับโปรตีนฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกจับเกาะด้วยน้ำตาลกลูโคส จะได้ค่าความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยสะสมช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา
บทความกายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ
โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip osteoarthritis)
ข้อสะโพก เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา ทำหน้าที่งอ เหยียด เวลานั่ง เดิน ยืน หรือแม้กระทั่งนอน ดังนั้นเมื่อใช้งานเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการสึกหรอของผิวของข้อสะโพกหรือ การทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขาจนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด หากอาการรุนแรงจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) สาเหตุ อาการ และ การรักษา
โรคกระดูกพรุนเกิดจากการที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลง เนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนัก และเกิดการแตกหักตามมา โรคนี้จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
สาเหตุ อาการ และ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
โรคเบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากประสิทธิภาพการสร้างฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อนลดลง ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ บริการด้านสุขภาพ ถึงบ้าน อาทิ กายภาพบำบัด บริการเจาะเลือดตรวจแล็ปสุขภาพ ทำแผลถึงบ้าน