ข้อสะโพก เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา ทำหน้าที่งอ เหยียด เวลานั่ง เดิน ยืน หรือแม้กระทั่งนอน ดังนั้นเมื่อใช้งานเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการสึกหรอของผิวของข้อสะโพกหรือ การทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขาจนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด หากอาการรุนแรงจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สาเหตุของข้อสะโพกเสื่อม
- อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการสึกตามการใช้งาน
- พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อมอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้
- โรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวกระดูกต้นขา
- การบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพกจากอุบัติเหตุ เช่น ข้อสะโพกเคลื่อนหลุดหรือแตกหัก
อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม
ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการปวดบริเวณขาหนีบหรือต้นขาด้านหน้า ขยับสะโพกได้ไม่เต็มที่เช่น นั่งพับเพียบไม่ได้ ปวดบริเวณขาหนีบ รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมและดีขึ้นเมื่อได้พัก
กรณีที่เป็นมาก จะรู้สึกปวดสะโพกอย่างรุนแรงจนต้องอยู่นิ่งๆ ไม่สามารถหมุนหรือเหยียดข้อสะโพกได้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงเนื่องจากไม่ได้ใช้งานหรือมีความยาวขาไม่เท่ากันได้
การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม
- การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการข้อสะโพกเสื่อมในระยะเริ่มแรก โดยจะเน้นการลดอาการปวดรวมถึงช่วยชะลอการดำเนินของโรค
กายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดจากโรคข้อสะโพกเสื่อม
จะเน้นการลดปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและลดอาการข้อติดแข็ง แต่ถ้าอาการข้อสะโพกเสื่อมไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจนัดการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่
- การักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในผู้ที่มีข้อสะโพกเสื่อมที่มีอาการปวดมากหรือผิดรูป จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ควรทำกายภาพบำบัด เพื่อให้สามารถกลับมาเดิน และ ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ (โดยเครือ รพ.ธนบุรี) ให้บริการกายภาพบำบัด ถึงบ้าน อาทิ กายภายบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แขนขาอ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต ตลอดจนกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด
โทร 02246 6124, 091698 8964
Line ID: @PHHC